เมื่อเอ่ยถึงอาณาจักรล้านนา ย่อมรู้กันว่าเป็นส่วนหนึ่งของประเทศไทย ที่มีอาณาเขตติดต่อกับประเทศพม่า จีนและสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว กลุ่มที่มีวัฒนธรรมล้านนากลุ่มนี้ ประกอบด้วยเมืองลำปาง ลำพูน เชียงใหม่ เชียงราย พะเยา เป็นพื้นที่ของชนที่เรียกว่า คนเมือ หรือยวน หรือไทยยวน ซึ่งหมายถึงชาวโยนก ทั้งนี้อาจรวมไปถึงเมืองแพร่ และเมืองน่านด้วยอีกสองเมือง ซึ่งมีวัฒนธรรมประเพณีคล้าย ๆ กัน
เดิมคนไทยแยกกันอยู่เป็นกลุ่ม ๆ กระจัดกระจายอยู่ในแหลมอินโดจีน ชาวล้านนาที่มีชีวิตอยู่ในภาคเหนือของประเทศเหล่านี้ จะตั้งบ้านเรือนอยู่บนพื้นที่ราบระหว่าเขา ซึ่งเป็นพื้นที่ที่อุดมสมบูรณ์
![]() |
แผนที่อาณาจักรล้านนา |
ตามหลักฐานทางประวัติศาสตร์ ชาวล้านนาที่อยู่ทางภาคเหนือ มีการสร้างบ้านแปงเมือง โดยมีกษัตริย์ปกครองสืบราชวงศ์ต่อกันมา ที่ปรากฏหลักฐานชัดเจนคือ อาณาจักน่านเจ้า อยู่ในบริเวณแคว้นยูนนานของจีน อาณาจักรนี้ถูกจีนรุกราน จนแตกกระจัดกระจาย เมื่อพุทธศักราช 1796 หลังจากนั้นจึงเริ่มมีอาณาจักรเชียงแสน ซึ่งเริ่มตั้งเมืองมาตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 16 เริ่มขยายเป็นอาณาจักรขึ้นแทน
ครั้งถึงพุทธศตวรรษที่ 18 คนไทยกลุ่มใหญ่ที่สุดก็รวมตัวกันตั้งบ้านเมือง แยกออกเป็น 3 อาณาจักรอย่างชัดเจน คือ อาณาจักรเชียง ตั้งอยู่ทางภาคเหนือ อาณาจักรสุโขทัย ตั้งอยู่ในภาคกลางและภาคใต้ อาณาจักรล้านช้าง คือที่ตั้งในดินแดนฝั่งตะวันออกของแม่น้ำโขง ปัจจุบันคือที่ตั้งสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว และภาคอีสานของไทย
ต่อมาจึงเกิดอาณาจักรล้านนาขึ้น โดยมีการตั้งอาณาจักรเป็น 3 ระยะ คือ
ในพุทธศักราช 1839 – 1896 พญามังรายสร้างเอง รวบรวมหัวเมืองต่าง ๆ ในแอ่งเชียงราย และขยายอำนาจลงสู่แองเชียงใหม่ ลำพูน โดยรวบรวมเมืองสำคัญไว้หลายเมือง ได้แก่ เมืองเชียงราย เชียงแสน เชียงใหม่ ลำพูน ลำปาง พะเยา โดยได้ส่งราชบุตรไปครองเมืองเชียงตุง เมืองนาย มีกษัตริย์ปกครองสืบต่อมา 5 พระองค์ จนถึงสมัยพญาผายู นั่นคือ สมัยในยุคเริ่มสร้างอาณาจักร
ต่อมาเป็นสมัยที่อาณาจักรล้านนามีความรุ่งเรือง ในพุทธศักราช 1896 – 2068 เริ่มตั้งแต่สมัยพญากือนา จนถึงสมัยพญาแก้ว เป็นระยะเวลา 170 ปี ความเจริญสูงสุดอยู่ในสมัยของพระเจ้าติโลกราช (พ.ศ. 1984 – 2030) สมัยนี้ได้รับการยกย่องว่าเป็นยุคทองแห่งล้านนาไทย ได้ขยายอาณาเขตมาถึงเมืองแพร่ เมืองน่าน แผ่นอิทธิพลไปถึงรัฐฉานและเมืองหลวงพระบาง ด้านพระพุทธศาสนาก็มีความเจริญรุ่งเรือง มีการสังคายนาพระไตรปิฎก เป็นครั้งที่ 8 ของโลก
และยุคสุดท้ายคือสมัยที่อาณาจักรล้านนา เริ่มเสื่อสลายลง ในพุทธศักราช 2068 – 2101 เริ่มตั้งแต่สมัยของพญาเกษเชษฐราช จนตกเป็นเมืองขึ้นของพม่า เป็นเวลา 33 ปี ครั้ง พุทธศักราช 2101 สมัยท้าวแม่กุ บุเรงนองยกกองทัพมายึดเมืองเชียงใหม่ จากนั้นล้านนาก็ตกอยู่ใต้อำนาจของพม่าถึง 200 ปีเศษ จนถึง พุทธศักราช 2317 สมัยพระเจ้ากรุงธนบุรี เชียงใหม่จึงมาตกเป็นเมืองประเทศราชของไทย ต่อมาหัวเมืองทางภาคเหนือก็แปรเป็นจังหวัดต่าง ๆ ของราชอาณาจักรไทย มีความเจริญก้าวหน้ามาตามลำดับจนถึงปัจจุบัน
![]() |
ซากเวียงกุมกาม |
พญามังรายเป็นโอรสของพญาลาวเมง และนางอั้วมิ่งจอมเมือง (นางเทพคำข่าย หรือ คำขยาย) ธิดาท้าวรุ่งแก่นชาวเมืองเชียงรุ้ง พญามังรายครองเมืองเงินยาง พุทธศักราช 1804 ต่อมาขยายอาณาเขต และยึดเมืองหริภุญชัย (เมืองลำพูน) ได้ราวพุทธศักราช 1535 ได้ทรงสร้างเวียงกุมกามขึ้น ในราวพุทธศักราช 1837 แต่พื้นที่ตั้งเมืองเป็นที่ลุ่ม น้ำท่วมจึงยกมาสร้างเมืองเชียงใหม่ขึ้นในพุทธศักราช 1839 เชียงใหม่จึงเป็นศูนย์กลางแห่งอาณาจักรล้านนาต่อมา
กษัตริย์แห่งอาณาจักรล้านนา สามารถลำดับกษัตริย์ได้ดังต่อไปนี้
พญามังราย ครองราชย์สมบัติ พุทธศักราช 1804 – 1854
พญาไชยสงคราม ครองราชย์สมบัติ พุทธศักราช 1854 – 1868
พญาแสนพล ครองราชย์สมบัติ พุทธศักราช 1868 – 1877
พญาคำฟู ครองราชย์สมบัติ พุทธศักราช 1877 – 1879
พญาผายู ครองราชย์สมบัติ พุทธศักราช 1879 – 1896
พญากือนา ครองราชย์สมบัติ พุทธศักราช 1896 – 1928
พญาแสนเมืองมา ครองราชย์สมบัติ พุทธศักราช 1928 – 1944
พญาสามฝั่งแกน ครองราชย์สมบัติ พุทธศักราช 1944 – 1964
พระเจ้าติโลกราช ครองราชย์สมบัติ พุทธศักราช 1964 – 2030
พญายอดเชียงราช ครองราชย์สมบัติ พุทธศักราช 2030 – 2038
พญาแก้ว ครองราชย์สมบัติ พุทธศักราช 2038 – 2068
หลังจากสมัยพญาแก้วแล้ว อาณาจักรล้านนาก็ตกอยู่ในอำนาจของพม่าเป็นเวลา 200 ปีเศษ จนในสมัยสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี จึงกลับมาตกเป็นประเทศราชของไทย โดยมีเจ้าเมืองเชียงใหม่ในฐานะประเทศราชของไทยสืบต่อมาดังนี้
พระเจ้ากาวิละ ครองราชย์สมบัติ พุทธศักราช 2325 – 2356
พระยาธรรมลังกา ครองราชย์สมบัติ พุทธศักราช 2356 – 2364
พระยาคำพั่น ครองราชย์สมบัติ พุทธศักราช 2364 – 2368
พระยาพุทธวงศ์ ครองราชย์สมบัติ พุทธศักราช 2368 – 2389
พระเจ้ามโหตรประเทศ ครองราชย์สมบัติ พุทธศักราช 2389 – 2397
พระเจ้ากาวิโรรสสุริยวงศ์ ครองราชย์สมบัติ พุทธศักราช 2397 – 2413
พระเจ้าอินทวิชยานนท์ ครองราชย์สมบัติ พุทธศักราช 2413 – 2439
พระเจ้าอินทวโรรสสุริยวงศ์ ครองราชย์สมบัติ พุทธศักราช 2439 – 2452
พลตรีเจ้าแก้วนวรัฐ ครองราชย์สมบัติ พุทธศักราช 2452 – 2482
บริเวณเมืองราชธานี ได้แก่ เมืองเชียงใหม่ ลำพูน อำนาจสิทธิ์ขาดเป็นของพระมหากษัตริย์ เป็นศูนย์กลางแห่งอำนาจ
เมืองที่ปกครองโดยข้าหลวง หรือเจ้านายเชื้อพระวงศ์ ซึ่งจะมีความสัมพันธ์กับเมืองหลวงอย่างใกล้ แต่เจ้าเมืองก็มีสิทธิ์และเป็นอิสระในการจัดการปกครองบ้านเมือง
เมืองประเทศราช เป็นเมืองที่อยู่ห่างไกล เจ้าเมืองยอมรับความด้อยกว่า โดยส่งบรรณาการมาให้เมืองใหญ่แสดงความผูกพันซึ่งกันและกัน
ส่วนการปกครองบังคับบัญชา แบ่งยศชั้นเป็น “พันนา” ซึ่งหมายถึง การแบ่งผืนดินเป็นเมืองต่าง ๆ เช่น เชียงราย 32 พันนา พะเยา 36 พันนา ฝาง 5 พันนา ผู้ครองพันนามียศเป็นหมื่นนา ล้านนา พันนา และแสนนา ส่วนพื้นที่ปกครองเล็กกว่าคือ “ปากนา” ปากนาหนึ่งมีคน 500 หลังคาหลังคาเรือน การควบคุมแบบพันนานี้ จะควบคุมใน 2 ลักษณะ คือควบคุมให้มีการส่งส่วยแก่เมืองที่สังกัดและควบคุมการเกณฑ์แรงงาน “เมืองำ” จะเกณฑ์ได้ทั้งในยามปกติและในยามสงคราม ดังนั้นการควบคุม จึงหมายถึงให้ผู้มีตำแหน่งดูแลควบคุมไพร่ด้วย
ดังที่ได้กล่าวมาแล้วว่า เมืองเชียงใหม่ได้เคยตกเป็นประเทศราชของพม่า แล้วเปลี่ยนมาอยู่ใต้ปกครองเป็นประเทศราชราชของไทยมาจนปัจจุบัน ตำแหน่งผู้ปกครองเมืองเชียงใหม่ได้ปรับเปลี่ยนเป็นแบบ “เจ้าหลวง” ซึ่งจะนำเรื่องราวของเจ้าหลวงบางองค์ มาให้ทราบประกอบบทความนี้ให้สมบูรณ์ดังนี้
![]() |
เมืองเชียงใหม่ เมืองหลวงของอาณาจักรล้านนา |
เจ้าหลวงยังถือว่าเป็นประมุขของเจ้านายทั้งหลาย และมีฐานะเป็นเจ้าชีวิตของประชาชน ความเป็นจริงเจ้าหลวง ในความรู้สึกของชาวเชียงใหม่ เป็นเสมือนกษัตริย์องค์หนึ่ง ที่ปกครองแผ่นดินยามสงคราม เจ้าหลวง คือ จอมทัพรับศึก เมื่อบ้านเมืองสงบ เจ้าหลวงคือผู้บริหารราชการ งานศิลปวัฒนธรรม และการทำนุบำรุงศาสนา (เน้นพระพุทธศาสนา) งานประเพณีและพิธีกรรมประจำเมือง
หลังจากเมืองเชียงใหม่ตกเป็นเมืองขึ้นของพม่าถึง 216 ปี จนถึงยุคของ “เจ้าเจ็ดตน” ที่มีพระเจ้ากาวิละ เป็นเจ้าหลวงเชียงใหม่องค์ที่ 1 การดำรงสถานภาพเป็นเจ้าประเทศราช หรือเจ้าผู้ครองนคร ดูเหมือนจะถูกเหยียด โดยนัยเป็นความรู้สึกที่ลึกอยู่ในใจของชาวล้านนาทั้งมวล เพราะการเป็นเจ้าหลวงเชียงใหม่ในยุคเจ้าเจ็ดตน จะต้องได้รับการแต่งตั้งจากอำนาจที่เหนือกว่า คือจากราชสำนักกรุงธนบุรี หรือกรุงรัตนโกสินทร์
การสถาปนาเป็นเจ้าหลวงเชียงใหม่ ต้องผ่านพิธีโบราณตามราชประเพณี มีพิธีราชาภิเษกถือน้ำพิพัฒน์สัตยา มีอาวุธ มีดดาบสรีกัญชัย หรือพระแสงขรรค์ชัยศรี ซึ่งเป็นอาวุธที่แสดงถึงราชอำนาจโดยประเพณี
![]() |
คุ้มเจ้าแก้วนวรัฐ เจ้าหลวงองค์สุดท้ายของเชียงใหม่ |
นครรัฐเชียงใหม่ในฐานะประเทศราช วางตัวเจ้าหลวงเป็นผู้ปกครองเมือง เพื่อเป็นด่านป้องกันพระราชอาณาจักร ต้องการให้เจ้าหลวงเชียงใหม่ขยายพระราชอาณาเขตให้กว้างขวางขึ้น พันธะที่คล้ายกับข้อผูกมัด ระหว่างนครเชียงใหม่กับกรุงเทพฯ ซึ่งเป็นไปในลักษณะถนอมเกียรติซึ่งกันและกันในรูปแบบของสหายร่วมศึก หรือมิตรร่วมรบ
เมื่อสถานการณ์ทางการเมืองการปกครองเปลี่ยนไป จากที่เคยคุกรุ่นเรื่องการรบ พอบ้านเมืองเข้าสูภาวะสงบ ราชสำนักกรุงเทพฯ พยายามที่จะให้หัวเมืองเอกอย่างเมืองเชียงใหม่ ให้เข้าสู่ระบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ ภายใต้อำนาจของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พฤติกรรมในการปฏิบัติจึงกลายเป็นความปวดร้าวของชาวล้านนา จนกระทั่งมีการปฏิรูปการปกครองเข้าสู่ระบบการประนีประนอมระหว่างเมืองเชียงใหม่กับกรุงเทพฯ ก็ยังอยู่ภายใต้กฎเกณฑ์สัมพันธภาพอันดีต่อกันมาโดยตลอด แม้ว่าสภาพของประเทศราชได้เปลี่ยนแปลงไปแล้วโดยสิ้นเชิง
นครรัฐเชียงใหม่ในอดีตที่เคยเป็นประเทศประเทศหนึ่ง ก็กลายเป็นเพียงจังหวัดหนึ่งของราชอาณาจักรไทย และเจ้าหลวงเชียงใหม่ก็กลายเป็นประวัติศาสตร์หน้าหนึ่งของเมืองเท่านั้น
เจ้าหลวงเชียงใหม่องค์สุดท้าย คือ พลตรีเจ้าแก้วนวรัฐ ซึ่งถือเป็นเจ้าหลวงองค์ที่ 9 (พ.ศ. 2452 – 2482) เจ้าแก้วนวรัฐ เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ ลำดับที่ 2 หรือเป็นเจ้าหลวงเชียงใหม่องค์สุดท้าย เป็ฯโอรสลำดับที่ 3 ของพระเจ้าอินทวิชยานนท์ เจ้าผู้ครองเชียงใหม่องค์ที่ 7 กับแม่เจ้าเขียว เริ่มรับราชการเมื่ออายุได้ 15 ปี และเจริญก้าวหน้าทางราชการเรื่อยมา นามของท่านได้รับการจารึกเพื่อเป็นเกียรติหลายแห่ง เช่น สะพานนวรัฐ สโมสรนวรัฐ ถนนแก้วนวรัฐ วัดศรีนวรัฐ โรงเรียนศรีนวรัฐ ฯลฯ
พุทธศักราช 2454 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานฐานันดรศักดิ์ให้เจ้าแก้วนวรัฐ เป็นเจ้าผู้ครองนคร พระบาทสมเด็จพระมุงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานนามสกุลแก่พลตรีเจ้าแก้วนวรัฐ และทายาทในสายสกุลของเจ้าเจ็ดตนว่า “ณ เชียงใหม่”
![]() |
สะพานนวรัฐที่ตั้งชื่อตามพระนามของเจ้าแก้วนวรัฐ เพื่อเชิดชูเกียรติเจ้าหลวงองค์สุดท้ายของเชียงใหม่ |
พลตรีเจ้าแก้วนวรัฐ ถึงแก่อสัญกรรมในปีพุทธศักราช 2482 รวมชนมายุได้ 77 ปี ในฐานะเจ้าหลวงเชียงใหม่ เป็นเจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่องค์สุดท้าย เมื่อท่านถึงแก่อสัญกรรมแล้ว ทางราชการก็ยุบเลิกตำแหน่งเจ้าผู้ครองนคร ซึ่งถือเป็นการสิ้นสุดการมี “เจ้าหลวงเชียงใหม่”
นับตั้งแต่การเริ่มต้น “เจ้าหลวงเชียงใหม่” ตังแต่สมัยพระเจ้ากาวิละ จนมาถึงสมัยพลตรีเจ้าแก้วนวรัฐ รวมเวลทั้งหมด 157 ปี
แม้จะไม่มี “เจ้าหลวง” โดยประเพณีแล้วก็ตาม พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวองค์ปัจจุบันก็ทรงมีพระมหากรุณาธิคุณต่อลูกหลานของเจ้าหลวงในสกุลของเจ้าเจ็ดตน หรือ “ณ เชียงใหม่” เสมอมา