>เรื่องเล่าเวียงกุมกาม


          เวียงกุมกาม เป็นโบราณสถานที่กรมศิลปากร ได้ค้นพบและขุดแต่งใหม่เมื่อปี พ.ศ. 1827  ที่สำคัญคือ มีหลักฐานที่น่าเชื่อถือว่า  เป็นเมืองหลวงเก่าของแคว้นล้านนา  สร้างโดยพญามังราย กษัตริย์แห่งโยนกนคร
ซากเวียงกุมกามที่ขุดค้นพบ
          เวียงกุมกามเป็นเมืองโบราณ มีพื้นที่ตั้งอยู่ในเขตอำเภอสารภี  จังหวัดเขียงใหม่ในปัจจุบัน  เป็นเมืองที่ตั้งอยู่บนฝั่งตะวันออกของแม่น้ำปิง อยู่ห่างจากเมืองเชียงใหม่ไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ ประมาณ กิโลเมตร  ชื่อ “กุมกาม”  เป็นภาษาโบราณล้านนา  มีผู้สันทัดกรณีในด้านภาษาล้านนา ให้คำอธิบายความหมายของคำว่า กุมกาม  เอาไว้มากมาย  อาทิ  กุมกาม  หมายถึงคำว่า  คุมคาม  ซึ่งมีความว่า การดูแลชนบท  กุมกาม  มาจากความหมายของคำว่า  คุ้มข้าม  หมายถึงเมืองที่มีท่าข้าม เมืองที่น่าเกรงขาม  กุมกาม  มาจากความหมายถึงการดับหรือระงับกิเลส
          ตัวเวียงกุมกาม ล้อมด้วยคูและคันดินรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า  ขนาดกว้างประมาณ  600 เมตร  ยาวประมาณ  850  เมตร  พื้นที่ตั้ง เป็นที่ราบตะกอนใหม่ของแม่น้ำปิง  ระดับความสูง 300 – 320  เมตร เหนือระดับน้ำทะเลปานกลาง พื้นที่ทั่วไปเดิมอยู่ริมแม่น้ำ เป็นที่ลุ่มต่ำ หน้าฝนจึงมีน้ำท่วมทุกปี และในฤดูน้ำเหนือบ่าก็จะท่วมพื้นที่นี้ด้วยปริมาณระดับน้ำสูงมาก
          จากหลักฐานของตำนานและพงศาวดาร ทำให้ทราบว่า  เวียงกุมกาม เป็นเมืองที่พญามังราย กษัตริญผู้สถาปนาราชวงศ์มังราย ทรงสร้างขึ้น หลังจากที่ยกทัพจากเมืองฝาง เข้ามารุกรานและยึดครองเมืองหริภุญชัยจากพญายี่บา ใน พ.ศ. 1835 หลังจากที่พระองค์ประทับอยู่ที่เมืองหริภุญชัย ได้ 2 ปี ก็ทรงมอบให้พระโอรส “เจ้าอ้ายฟ้า” ครองเมืองหริภุญชัยแทน  หลังจากนั้นพระองค์ก็ทรงย้ายมาสร้างเมืองใหม่ขึ้นเรียกว่า “เวียงกุมกาม” ในปี พ.ศ. 1837  ริมฝั่งแม่น้ำปิง และได้ใช้แม่น้ำปิงเป็นเส้นทางในการคมนาคมติดต่อกับเมืองที่ตั้งอยู่ทางตอนเหนือและทางตอนใต้  เป็นเหตุให้เวียงกุมกามกลายเป็นศูนย์กลางทางการค้าขายยิ่งใหญ่ในยุคนั้น
ซากเวียงกุมกามอีกมุมหนึ่ง
          ตำนานเมืองเขียงใหม่ กล่าวถึงเวียงกุมกามในยุคนั้นว่า  “เรื่องค้าขายซึ่งมาจากที่ต่าง ๆ  เข้ามาค้าขายที่กาด (หมายถึงตลาดในภาษาล้านนา)  กุมกามเป็นจำนวนมาก  จนทำให้เรือชนกันล่มทุกวัน ดูจากตำนาน จะมองเห็นภาพเรือค้าขายจอแจ  เรือพายในเขตหน้าท่าหน้าเมืองในครั้งนั้น  คงจะมีทั้งเรือแจวลำใหญ่และเรือพายเล็กก็อาจจะเป็นเหตุให้ชนกันได้
          ส่วนพื้นที่รอบ ๆ  เมืองนั้น  เป็นที่ราบ จึงมีการทำนาเป็นหลัก  เวียงกุมกามจึงมีฐานะเป็นเมืองหลวง มีความสำคัญทางด้านการเมือง  เป็นสูนย์กลางการแลกเปลี่ยนสินค้า  แต่ในด้านการศาสนานั้น  เมืองหริภุญชัย ยังมีบทบาทสำคัญอย่างเดิม
          จากตำนานเมืองมาบันทึกว่า  เวียงกุมกามนั้นมิใช่เมืองที่สร้างขึ้นใหม่หมด  แต่เป็นเมืองที่สร้างขึ้นจากรากฐานของเมืองเก่าที่มีชื่อว่า “เมืองกุมกาม”  โดยเป็นชุมชนชาวล้านนาเก่  ถือว่าเป็นชุมชนพื้นเมืองเดิม  ที่มีความสันทัดจัดเจนในการค้าขายอยู่แล้ว  รวมทั้งมีอาชีพเกษตรกรรมที่มั่นคงแข็งแรง ง่ายแก่การที่จะย้ายมาสร้างบ้านแปงเมือง
          ดังที่บอกไว้ในตอนต้นว่า  เวียงกุมกามนั้น  เป็นเวียงที่สร้างอยู่บนที่ราบตะกอนใหม่อยู่ริมแม่น้ำ  ดังนั้น  เวลาน้ำหลากหรือฝนตก  จึงมีน้ำท่วมขังและท่วมนานเป็นเดือน จึงสอดคล้องกับตำนานที่บันทึกว่า  เมืองนี้ผู้คนสัญจรกันโดยเรือ
          จากเหตุดังกล่าว จึงดูได้ว่าเป็นสาเหตุที่พญามังรายตัดสินพระทัยย้ายเมืองไปสร้างเมืองใหม่ในระหว่างเชิงดอยสุเทพกับแม่น้ำปิง  ซึ่งมีพื้นที่ต้องตามชัยภูมิเมือง  คือมีพื้นที่ลาดเทจากทิศตะวันตกไปสู่ทิศตะวันออก  จึงไม่มีเหตุที่จะให้เกิดน้ำท่วมเมืองได้  พญามังรายสร้างเมืองนพบุรีศรีนครพิงค์เชียงใหม่ขึ้นใน พ.ศ. 1839  เวียงกุมกาม จึงมีฐานะเป็นเพียงเมืองหน้าด่าน ป้องกันข้าศึกศัตรูที่จะเข้ามาตีเมืองเชียงใหม่  เวียงกุมกามจึงลดความสำคัญลงไป  ดังปรากฏหลักฐานในรัชสมัยพญาติโลกราชบันทึกไว้ว่า  “เวียงกุมกาม  เป็นพันนาหนึ่ง  ให้หมื่นกุมกามปกครองเป็นนายด่าน...”
แผนที่ที่ตั้งเวียงกุมกาม
          หลังจากที่พม่ายกทัพเข้ามารุกราน และสามารถยึดเชียงใหม่ได้ ในปี พ.ศ.  2101  ก็ไม่มีเอกสารหลักฐานใด ๆ  กล่าวถึงเวียงกุมกามอีกเลย  แต่จากคำให้การของชาวล้านนา ที่เล่าบอกเป็นเรื่องราวเชิงนิยายตำนานเมืองกล่าวว่า  เวียงกุมกามเกิดโรคระบาด  ผู้คนในเมืองล้มตาย  จนเมืองเงียบเหงา  ค่ำลงได้ยินแต่เสียงกรีดร้องหวีดหวิวของวิญญาณคนตาย  ผู้คนจึงอพยพออกจากเมือง  ทิ้งเมืองให้เป็นเมืองร้าง  บ้านเรือนราษฎรนั้น  เป็นบ้านไม้เครื่องผูก  ต้องล้มละลายหายไปกับกระแสน้ำที่พาเอาโคลนจากแม่น้ำปิงเข้ามาทับถม  เว้นเพียงวัดวาที่ประชาชนสร้างไว้  ดินกลบไปจนเกือบครึ่งค่อน  ในที่สุดก็จมหายลับไปกับพื้นพิภพ  นับแต่  พ.ศ. 2101  เป็นต้นมา
          ในปี พ.ศ. 2527  มีรายงานจากสำนักงานศิลปากรที่ ว่ามีการค้นพบเมืองโบราณเวียงเก่า ที่มีชื่อในตำนานล้านนาแล้ว (หลังจากจมอยู่ใต้ดินมานานกว่าสี่ร้อยปี)  2527 – 2532  สามารถขุดแต่งวัดโบราณได้จำนวน 10 วัด  ประกอบด้วย  วัดกานโถม  วัดพระธาตุขาว  วัดปู่เบี้ย  วัดอีก้าง  วัดกุมกามทีปราบ  วัดน้อย  วัดหัวหนอง  วัดพระเจ้าองค์ดำ  วัดกู่ขาว  และวัดกู่ไม้ซ้ง